สกุลไฟล์ภาพและเสียง


สกุลไฟล์รูปภาพมีอะไรบ้าง อะไรขนาดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุด?

BMP
เป็นพื้นฐานของรูปบิตแมปของซอฟต์แวร์บนวินโดวส์ ดังนั้น มันจึง สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมทุก ๆ โปรแกรมที่ทำงานภายใต้วินโดวส์ แต่ว่าไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับแพลตฟอร์มอื่น ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้กับแพลตฟอร์มอื่น เช่นแมคอินทอช หรือระบบอื่นๆ ได้ไฟล์แบบบิตแมปบนวินโดวส์คล้ายๆ กับของพรีเซนเตชันเมเนเจอร์ของโอเอส/ทู แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวนัก

EPS

เป็นรูปแบบที่ใช้กับงานประเภท Desktop Publishing หรืองานเกี่ยวกับการจัดหน้า เช่น PageMaker โดยใช้กับเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น ไฟล์ EPS นี้เมื่อนำมาย่อ-ขยาย จะไม่ทำให้ภาพสูญเสียความคมชัด เนื่องจากมีความละเอียดสูง
GIF

เป็นรูปแบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน ปัจจุบัน GIF ไฟล์มีสองเวอร์ชันด้วยกันคือ 87a และ 89a โดยที่เวอร์ชัน 87a เป็นรูปกราฟิก เพียงอย่างเดียว ขณะที่เวอร์ชัน 89a สามารถสนับสนุนการทำภาพเคลื่อนไหวได้ โดยการนำภาพหลายๆ ภาพมาเรียงต่อกันและ บรรจุอยู่ในไฟล์เดียวกัน จุดดีของ Gif คือ Interlaced ซึ่งเมื่อกราฟิกถูกโหลด จะแสดงภาพจากหยาบไปหาละเอียด ในขณะที่กราฟิกถูกโหลดมาทีละน้อยจนเสร็จสมบูรณ์ จึงทำให้ผู้ชมที่มี bandwidth ต่ำๆ สามารถเห็นภาพโดยรวมได้ก่อนที่ภาพจะ ถูกโหลดจนสมบูรณ์ จุดด้อยของ Gif คือ มันเป็นลิขสิทธิของบริษัท Compuserv กล่าวคือ บริษัทผู้ผลิต ซอร์ฟแวร์ จะใช้ได้จะต้องขออนุญาติและจ่ายค่าลิขสิทธิเพื่อใช้ Gif จึงทำให้มีผู้พัฒนาไฟล์รูปแบบ PNG ขึ้นใช้แทน

IFF

IFF (Amiga Interchange File Format)จะนำมาใช้กับงานวิดีโอและการถ่ายข้อมูลจาก Commodore Amiga system ยิ่งไปกว่านี้ยังสนับสนุนโปรแกรมตกแต่งภาพที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป ด้วย

IMG

Windows, Mac โปรแกรม Desktop Publishing และโปรแกรมแก้ไขรูปภาพบางโปรแกรม เช่น Ventura Publisher, PageMaker, QuarkXPress 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี แบบ RLE อย่างง่าย

JPG

JPEG เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในภาพประเภทภาพถ่าย (โทนสีต่อเนื่อง) เนื่องจากใช้สีทั้งสเปกตรัมสีที่มีในมอนิเตอร์ และเป็นไฟล์ประเภทที่ถูกบีบอัดให้เล็กลงเพื่อให้โหลดเร็วขึ้นเช่นเดียวกับ GIF โดยการตัดค่าสี ในช่วงที่ตามองไม่เห็นทิ้งไป แต่เมื่อบันทึกไฟล์เป็น JPEG แล้ว ข้อมูลสีที่ถูกตัดทิ้งไปจะไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีก ถ้าต้องการใช้ค่าสีเหล่านั้นในอนาคต ควรจะบันทึกเป็นไฟล์ชนิดอื่น แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์ JPEG ด้วยการบันทึกเป็นไฟล์ก็อปปี้ ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไขภาพ Bitmap และโปรแกรมการแปลงรูปแบบ เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee 32 ความสามารถทางด้านสี 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี และความลึกสีแบบ 32 บิต จุดดีของ JPG นอกจากความสามารถในการบีบอัดไฟล์แล้ว JPG มีคุณสมบัติของ Progress JPEG คือ เมื่อถูกโหลด จะแสดงภาพจากหยาบไปสู่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กราฟิกถูกโหลดมาเรื่อยๆ จนเสร็จสมบูรณ์ (ลักษณะคล้ายกับ Interlaced GIF) 

PCX

PCX เป็นรูปแบบไฟล์บิตแมปดั้งเดิมของโปรแกรมแก้ไขภาพบิตแมปชื่อ PC Paintbrush จาก Z-Soft ซึ่งมีให้ใช้บนพีซีมานานแล้วรูปแบบ PCX เป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับภาพบิตแมป โดยโปรแกรมกราฟิกส่วนใหญ่จะสนับสนุนรูปแบบ PCX 

PGL

PGL โปรแกรม CAD, โปรแกรมแก้ไขไฟล์ Vector บางโปรแกรมและ Desktop Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW

PIC

PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB

PNG

ถูกออกแบบมาเพิ่มเติมคุณสมบัติที่ไม่มีของ GIF format และยังมีรายละเอียดใกล้เคียง TIFF format แต่มีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่า

TGA

TGA (Targa)เป็นรูปแบบซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้ Truevision video board และโปรแกรมทั่วๆไปสนับสนุนภาพทุกชนิด

TIF

TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้ 
TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File Format นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต , Grayscale (4,8, 16 บิต) , แผงสี (ได้ถึง 16 บิต) , สี RGB ( ได้ถึง 48 บิต) , สี CMYK ( ได้ถึง 32 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ

WMF

WMF ไฟล์ WMF นี้มีข้อเสียคือ ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการเก็บภาพ แสดงภาพได้ไม่ถูกต้อง แต่สามารถใช้ได้ทั้งกับโปรแกรมแบบเวกเตอร์และแบบบิตแมป


สกุลไฟล์เสียงมีอะไรบ้าง
ที่มา : http://idesignschool.blogspot.com/2010/03/format.html
ไฟล์เสียงประเภทต่างๆที่ใช้กันในปัจจุบัน
ไฟร์ดนตรีที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับงานที่ต่างกัน ไฟล์รูปแบบหลักๆที่ใช้กับพีซี ได้แก่ Wave, CD Audio, MP3, WMA, RA ซึ่งทั้งหมดนี้ขอเรียกรวมกันว่าเป็นไฟล์รูปแบบคลื่นเสียง (waveform) ส่วนไฟล์ดนตรีอีกประเภทหนึ่งก็คือไฟล์ MIDI เรามาดูรายละเอียดของไฟล์ดนตรีแต่ละประเภทกันว่ามีลักษณะอย่างไร
Wave
ไฟล์ Wave (เวฟ) ที่มีนามสกุล .wav เป็นไฟล์ข้อมูลคลื่นเสียงที่บันทึกจากเสียงอนาล็อกเป็นรูปแบบดิจิตอล เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ คล้ายกับการบันทึกเทปแต่เป็นการบันทึกไว้ในดิสก์ของคอมพิวเตอร์แทน Wave เป็นรูปแบบไพล์พื้นฐานของระบบพีซี มีขนาดไฟล์ใหญ่ สามารถกำหนดคุณภาพเสียงได้หลากหลาย เช่น เสียงโมโนหรือสเตอริโอ มีระดับความละเอียดน้อยมาก
CD Audio
เป็นแทร็กเสียงดิจิตอลที่รูปแบบเหมือนกับไฟล์ Wave บรรจุไว้ในแผ่นซีดีเพลงด้วยรูปแบบพิเศษเฉพาะ ถ้าใส่แผ่นซีดีเพลงเข้าไปในไดรฟ์ซีดีรอมแล้วเปิด My Computer คุณจะเห็นชื่อไฟล์ในแผ่นซีดีมีนามสกุลเป็น . cda เช่นไฟล์ trac1.cda ซึ่งมันไม่ใช่ไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่าง Wave หรือ MP3 คุณจึงไม่สามารถก๊อบปี้แทร็ก CD Audio เก็บไว้ในฮาร์ดิสก์ได้
MP3
MP3 (นามสกุล .mp3) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานจากไฟล์ Wave แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 8-10 เท่า เนื่องจากข้อมูลในไฟล์ถูกบับอัดให้เล็กลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ใกล้เคียงต้นฉบับ ไฟล์ MP3 ได้รับความนิยมมากสำหรับการบันทึกเพลง ไฟล์ประเภทนี้ความยาว 4 นาที มีขนาดประมาณ 5MB สามารถก๊อบปี้เก็บไว้ในฮารด์ดิสก์ได้เหมือนไฟล์ข้อมูลข้อมูลปกติทั่วไป แต่การสร้างและการแก้ไขไฟล์ค่อนข้างซับซ้อน ก่อนที่จะสร้างไฟล์ MP3 ได้ คุณต้องใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงจากภายนอกให้เป็นไฟล์ Wave แล้ว จากนั้นจึงเข้ารหัสบีบอัดให้กลายเป็น MP3 หรือต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่สามารถบันทึกและเข้ารหัส MP3 ในทันทีได้
WMA
WMA (Windows Media Audio) เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลรูปแบบใหม่กว่า MP3 มีการบีบอัดดีกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า MP3 คุณสมบัติทั่วไปเหมือนกับ MP3
RA
RA (Real Audio) เป็นไฟล์เสียงสำหรับใช้กับโปรแกรม Real Player โดยเฉพาะ มีพื้นฐานมาจากไฟล์ Wave แต่ถูกบีบอัดให้เล็กลงด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ เพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลเสียงทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก
MIDI
MIDI (Musical Instrument Digital Interface) (อ่านว่า มิดี้”) ที่มีนามสกุล .mid เป็นไฟล์ข้อมูลดนตรีที่ถูกบันทึกหรือโปรแกรมเอาไว้ เช่น เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ตัวโน๊ต ความเร็วจังหวะ ฯลฯ สำหรับนำไปใช้กับอุปกรณ์ดนตรี เช่น ซาวนด์การ์ด หรือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เมื่อข้อมูลถูกส่งจากคอมพิวเตอร์เข้าสู่อุปกรณ์ดนตรีจะทำให้ อุปกรณ์ดนตรีจะเล่นดนตรีตามข้อมูลในไฟล์ เหมือนกับคนอื่นมาเล่นดนตรีให้คุณฟังในวงการดนตรี MIDI คือลักษณะการต่อเชื่อมเครื่องดนตรีแบบดิจิตอล ใช้อ้างถึงความสามารถในการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีผ่านทางพอร์ต MIDI (ช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณ) โดยเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปให้อีกเครื่องหนึ่ง เพื่อสั่งให้ทำงานหรือส่งเสียงตามที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น คุณเชื่อมต่อกีตาร์ไฟฟ้ากับคีย์บอร์ดเข้าด้วยกัน เมื่อคุณดีดกีต้าร์สมมุติว่าเป็นโน๊ตเสียงโด คีย์บอร์ดก็จะส่งเสียงโด ออกมาพร้อมกันทันที เหมือนกับมีอีกคนมาช่วยเล่นคีย์บอร์ดให้คุณ

ที่มา : http://www.mxboardza.co.cc/index.php?showtopic=415

อนุทินครั้งที่6(23.01.55)

ความรู้ที่ได้รับ
  
สวัสดีค่ะวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ อย่างแรกคือ ฮาร์ดแวร์ จะประกอบด้วย อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล(Input Devces) เช่น
คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก
เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
สแกนเนอร์ (Scanner)
Scanner คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้
เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้สำหรับอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วยเส้นขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่าง ๆ การอ่านจะใช้แสงส่องแถบเส้นทำให้เกิดการสะท้อนเพื่อรับรหัสเข้ามาตีความหมาย
จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพ
ได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
จอสัมผัส (touch screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลได้โดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพของจอสัมผัสประกอบด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้ การใช้งานจอสัมผัสมีความสะดวก แต่อาจผิดพลาดจากการระบุตำแหน่งบนจอภาพ ถ้าตำแหน่งบนจอภาพมีขนาดเล็กเกินไป จอสัมผัสประยุกต์ใช้กับงานหลายอย่าง เช่น การจองตั๋วชมภาพยนตร์ การจองที่นั่งเพื่อรับประทานอาหาร
ที่มา: http://www.sawi.ac.th/elearning/hardware/input.html
    วันนี้ได้ความรู้ในเรื่องของอุปกรณ์แล้วก็
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสองการทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปล ความหมาย และกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงาน เป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยทุกๆ หน่วย ใน CPU และอุปกรณ์อื่นที่ต่อพ่วง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุมการทำงานส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALU ทำการคำนวณข้อมูลที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) และการคำนวณทางตรรกศาสตร์ (Logical operations) โดยปฏิบัติการเกี่ยวกับการคำนวณได้แก่ การบวก (Addition) ลบ (Subtraction) คูณ (Multiplication) หาร (Division) สำหรับการ คำนวณทาง    ตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรือเท็จ โดยอาศัยตัวปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ค่า
หน่วยความจำหลัก (Memory Unit)
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล
 
ที่มา: http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/cpu.htm
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/pageb.htm
หน่วยแสดงผล 
              เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลได้ให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัวอักษร รูปภาพหรือกราฟ แสดงออกให้เห็นออกมาทางอุปกรณ์แสดงผลต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
              อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์แบบถาวร    หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์ทีสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ต่อ ๆ ไปในอนาคต เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
             อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว   หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ในระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ เช่น จอภาพ เป็นต้น
เครื่องพิมพ์ (Printer)        
                  เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฎอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด
เครื่องพิมพ์ Printer พริ้นเตอร์ เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ สามารถพิมพ์งานกระดาษหน้ากว้างได้ ทั้งงานสีและขาวดำ ด้วยระบบพ่นหมึก
เครื่องพิมพ์เลเซอร์  Laser Printer เครื่องพิมพ์เลเซอร์ สามารถพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบเลเซอร์และผงหมึก
เครื่องพิมพ์อิงค์เจต Injet Printer ระบบพ่นหมึก ใช้งานในระดับสำนักงานหรือในบ้านสามารถพิมพ์ได้ทั้งงานสีและขาวดำ                                          
จอภาพ (Monitor)   จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์แบบชั่วคราว ผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว ปกติทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและภาพกราฟิกที่สร้างจากการ์ดแสดงผล จอภาพจะมีขนาด คุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรเลื่อกซื้อจอภาพที่เหมาะสมกับงานและงบประมาณที่มีอยู่ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสีชนิดความละเอียดสูง และเปป็นจอภาพแบบNon Inrerlaced ซึ่งจอภาพชนิดนี้จะช่วยลดอาการกระพิบของจอภาพได้ ช่วยให้ผู้ใช้ลดความเครียดทางสายตาได้
ลำโพง (Speaker)   หน่วยแสดงผลที่ช่วยเพิ่มสีสันในการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลเป็นเสียงต่าง ๆ ตามโปรแกรม
ข้อคิดและประโยชน์ที่นำไปใช้
      วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ การเรียนครั้งนี่ทำให้รู้ว่าอะไรบ้างเป็นส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ และทำให้รู้ว่าเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราควรจะทำความรู้จักไว้ซักนิดก็ยังดี การเรียนวันนี้ก็สนุกดีค่ะ สำหรับวันนี้ขอบคุณค่ะ