อนุทินครั้งที่6(23.01.55)

ความรู้ที่ได้รับ
  
สวัสดีค่ะวันนี้เป็นการเรียนในเรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ อย่างแรกคือ ฮาร์ดแวร์ จะประกอบด้วย อุปกรณ์รับเข้าข้อมูล(Input Devces) เช่น
คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก
เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์
สแกนเนอร์ (Scanner)
Scanner คือ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ ทำให้สามารถแก้ไข ตกแต่งเพิ่มเติม และจัดเก็บข้อมูลได้
เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้สำหรับอ่านรหัสแท่ง (Bar Code) ซึ่งเป็นแถบเส้นที่ประกอบด้วยเส้นขนาดแตกต่างกันใช้แทนรหัสข้อมูลต่าง ๆ การอ่านจะใช้แสงส่องแถบเส้นทำให้เกิดการสะท้อนเพื่อรับรหัสเข้ามาตีความหมาย
จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพ
ได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
จอสัมผัส (touch screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลได้โดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพของจอสัมผัสประกอบด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้ การใช้งานจอสัมผัสมีความสะดวก แต่อาจผิดพลาดจากการระบุตำแหน่งบนจอภาพ ถ้าตำแหน่งบนจอภาพมีขนาดเล็กเกินไป จอสัมผัสประยุกต์ใช้กับงานหลายอย่าง เช่น การจองตั๋วชมภาพยนตร์ การจองที่นั่งเพื่อรับประทานอาหาร
ที่มา: http://www.sawi.ac.th/elearning/hardware/input.html
    วันนี้ได้ความรู้ในเรื่องของอุปกรณ์แล้วก็
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสองการทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปล ความหมาย และกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงาน เป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยทุกๆ หน่วย ใน CPU และอุปกรณ์อื่นที่ต่อพ่วง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุมการทำงานส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALU ทำการคำนวณข้อมูลที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit ; ALU)
หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) และการคำนวณทางตรรกศาสตร์ (Logical operations) โดยปฏิบัติการเกี่ยวกับการคำนวณได้แก่ การบวก (Addition) ลบ (Subtraction) คูณ (Multiplication) หาร (Division) สำหรับการ คำนวณทาง    ตรรกศาสตร์ ประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าจริง หรือเท็จ โดยอาศัยตัวปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ค่า
หน่วยความจำหลัก (Memory Unit)
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล
 
ที่มา: http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/cpu.htm
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/nittaya_c/meaow2/pageb.htm
หน่วยแสดงผล 
              เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลได้ให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัวอักษร รูปภาพหรือกราฟ แสดงออกให้เห็นออกมาทางอุปกรณ์แสดงผลต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
              อุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์แบบถาวร    หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์ทีสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ต่อ ๆ ไปในอนาคต เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
             อุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว   หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ในระยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ เช่น จอภาพ เป็นต้น
เครื่องพิมพ์ (Printer)        
                  เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฎอยู่บนกระดาษ นับเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด
เครื่องพิมพ์ Printer พริ้นเตอร์ เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ สามารถพิมพ์งานกระดาษหน้ากว้างได้ ทั้งงานสีและขาวดำ ด้วยระบบพ่นหมึก
เครื่องพิมพ์เลเซอร์  Laser Printer เครื่องพิมพ์เลเซอร์ สามารถพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบเลเซอร์และผงหมึก
เครื่องพิมพ์อิงค์เจต Injet Printer ระบบพ่นหมึก ใช้งานในระดับสำนักงานหรือในบ้านสามารถพิมพ์ได้ทั้งงานสีและขาวดำ                                          
จอภาพ (Monitor)   จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์แบบชั่วคราว ผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว ปกติทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและภาพกราฟิกที่สร้างจากการ์ดแสดงผล จอภาพจะมีขนาด คุณสมบัติและราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรเลื่อกซื้อจอภาพที่เหมาะสมกับงานและงบประมาณที่มีอยู่ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสีชนิดความละเอียดสูง และเปป็นจอภาพแบบNon Inrerlaced ซึ่งจอภาพชนิดนี้จะช่วยลดอาการกระพิบของจอภาพได้ ช่วยให้ผู้ใช้ลดความเครียดทางสายตาได้
ลำโพง (Speaker)   หน่วยแสดงผลที่ช่วยเพิ่มสีสันในการใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลเป็นเสียงต่าง ๆ ตามโปรแกรม
ข้อคิดและประโยชน์ที่นำไปใช้
      วันนี้ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ การเรียนครั้งนี่ทำให้รู้ว่าอะไรบ้างเป็นส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ และทำให้รู้ว่าเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราควรจะทำความรู้จักไว้ซักนิดก็ยังดี การเรียนวันนี้ก็สนุกดีค่ะ สำหรับวันนี้ขอบคุณค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น