ผลกระทบการใช้งานคอม


ผลกระทบที่เป็นเชิงบวกและเชิงลบจองการใช้งานคอม
เชิงบวก

1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI
3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง
6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม
 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประโยชน์ทางตรง
        ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆเช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงานจะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ


book_04.jpg
2. ประโยชน์ทางอ้อม
        คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น


เชิงลบ
1.กินไฟ ขึ้นกับขนาดจอและขนาดเครื่อง รวมถึงระยะเวลาที่เปิดใช้งาน นอกจากนี้ละแวกไหนไฟดับบ่ออาจใช้คอมพิวเตอร์ลำบาก เพราะระหว่างใช้งานเกิดไฟดับจะเกิดการกระชากไฟในเครื่องทำให้เสียหายได้
2.ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอทั้งอุปกรณ์และโปรแกรม เพราะอาจจะมีผลต่อการทำงานบางอย่างที่ต้องการความทัน สมัยและเข้ากันได้กับระบบอื่นๆ การปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย
3.ใช้งานนานเกินไปก็เสียสุขภาพ ทั้งรังสีที่แผ่ออกมา การจ้องหน้าจอนานๆ เสียสายตา หรือ อดหลับอดนอนเล่นเกม หรือแช็ต บางรายเพลินจนลืมกินอาหาร ส่งผลกระทบต่อการเรียนการทำงาน ทำให้เด็กเก็บตัว ไม่เข้าสังคม มีแต่เพื่อนในโลกเสมือน ทำให้เกิดปัญหาบุคลิกภาพ ต้องจัดแบ่งเวลาให้ดี
4.เรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล สมัยนี้ใครๆ ก็ติดต่อธุรกิจกันทางอินเตอร์เน็ต ซื้อขายสินค้า โอนเงินผ่านธนาคาร เล่นหุ้น จึงเกิดอาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การล้วงข้อมูลส่วนบุคคล การต้มตุ๋นในรูปแบบต่างๆ การแฮ็กเจาะระบบที่บริษัทองค์กรใหญ่ๆ มักตกเป็นเหยื่อ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์

5.เนื่องจากเมื่อต่ออินเตอร์เน็ตแล้วทำให้เข้าถึงเนื้อหาได้หลากหลายทั่วโลก จึงมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมปะปนอยู่มากมาย ทั้งลามก อนาจาร รุนแรง ผู้ปกครองต้องดูแลการใช้งานของเด็ก แต่ประเด็นนี้ก็มีคนพยายามแก้ปัญหาด้วยการคิดโปรแกรม ป้องกันขึ้นมาให้นำไปติดตั้งในเครื่อง ดักไม่ให้เปิดเข้าชมเว็บที่ไม่เหมาะสม ช่วยได้พอประมาณ
  อ้างอิง:  http://aim2552bird.blogspot.com/2009/09/blog-post_23
              http://www.learners.in.th/blogs/posts/415410
              http://www.thaigoodview.com

บมความที่น่าสนใจ

      
      กระทรวงไอซีที ผนึก จุฬาฯ ผุดแผนที่อุทกภัยออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์


         กระทรวงไอซีทีจับมือจุฬาฯ บูรณการข้อมูลรับมือภัยพิบัติทั้งภาครัฐและเอกชน นำข้อมูลภูมิสารสนเทศ Thai Crisis Planner & Reporter นำเสนอผ่านเว็ปไซต์ http://thaicrisis.chula.ac.th เสมือนเป็นแผนที่ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เพื่อผู้ประสบอุทกภัย
     
       นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยในปีนี้ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คปภ.) ขึ้น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา และได้มอบหมายกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานในการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศของภาครัฐเพื่อใช้ในการตกลงตัดสินใจภายใต้ระบบภูมิสารสนเทศ
     
       ทางกระทรวงไอซีทีจึงได้จัดทำเว็บไซต์ www.floodthailand.net ขึ้นมาเพื่อเป็นเว็บหลักของกระทรวงในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านภูมิสารสนเทศ (Geographic Information : GI) ผ่านโครงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก (เอสเอ็มเอ็มเอส) และโครงการจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ภาพถ่ายมาตราส่วน 1 : 4,000 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีการประยุกต์ใช้งานระบบบริการแผนที่กลาง (Web Map Portal / GI Portal) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการสนับสนุนระบบให้บริการ
     
       “เว็บไซต์ดังกล่าวยังได้นำข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศที่เป็นของภาคเอกชนที่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อมูลบางส่วนที่ประชาชนอยากทราบแต่ยังไม่ได้มีปรากฏเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศทั้งของภาครัฐ และเอกชนที่นำเสนอผ่านทางเว็บดังกล่าว”
     
       ล่าสุดทางกระทรวงไอซีทีจึงได้จับมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาระบบ Thai Crisis Planner & Reporter ซึ่งเป็นระบบภูมิสารสนเทศในลักษณะของแผนที่ออนไลน์สำหรับประชาชน และหน่วยงานเพื่อเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ใช้งานได้ทราบ และรับรู้ถึงสภาพกายภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ทรัพย์สิน ตลอดจนความสัมพันธ์กับเส้นทางน้ำ และระบบระบายน้ำ เพื่อใช้ในการวางแผน และรวมร่วมข้อมูลสถานการณ์น้ำ โดยสามารถเข้าไปได้ที่ http://thaicrisis.chula.ac.th ซึ่งระบบดังกล่าวจะสามารถใช้ได้ในวันที่ 10 พ.ย. 54 เป็นต้นไป 
     
       สำหรับระบบดังกล่าวเป็นระบบที่เหล่าคณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำและหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ รองศาสตราจารย์ชัยยุทธ สุขศรี และอาจารย์ ดร. อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ ร่วมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ อาจารย์สุภาพร โพธิ์แก้ว ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จากคณะนิเทศศาสตร์ ได้ร่วมกันพัฒนาต่อเนื่องมาจาก ระบบ Flood_REST เพื่อใช้เป็น “เครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมด้วยตนเอง”
     
       “ความร่วมมือ และบูรณาการในครั้งนี้จะทำให้มีระบบ Crisis Planner ที่สามารถสนับสนุนการบริหารจัดการวิกฤตสำหรับประชาชนได้กว้างขวางขึ้น ส่งผลให้ประชาชนจะมีเครื่องมือช่วยประเมินความเสี่ยงภัยน้ำท่วมที่ออกแบบสำหรับผู้วางแผนเตรียมรับมือน้ำท่วมไปจนถึงการฟื้นฟูกู้วิกฤต ประชาชน ผู้ประกอบการและส่วนราชการสามารถใช้ในการประเมินกายภาพ วิเคราะห์ปัญหาน้ำท่วม และวางแผนการกู้ และฟื้นฟูบ้านเรือน สถานประกอบการ พื้นที่อุตสาหกรรมในภาพกว้างมากขึ้นกว่าเดิม”
     
       รัฐมนตรีไอซีทีกล่าวว่า ระบบ Crisis Reporter จะเป็นเครื่องมือในการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ด้วยการตรวจจับภาวการณ์ขึ้น-ลงของน้ำท่วมโดยอาศัยการรายงานจากเครือข่ายสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังการแพร่ขยายวงของน้ำท่วมที่กำลังแทรกซึมสู่กรุงเทพมหานครในขณะนี้ อีกทั้งใช้ติดตามการลดลงของระดับน้ำเพื่อกลับเข้าไปฟื้นฟูหรือเข้าอยู่อาศัยต่อไป
     
       นอกจากยังเปิดช่องทางให้เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมต่างๆ สามารถเข้าเป็นพันธมิตรกับ “Thai Crisis” ได้ โดยการส่งเสริมให้สมาชิกเข้ามารายงานสถานการณ์น้ำ เรียกดูข้อมูลสรุป และนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนรับมือวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการวางแผนฟื้นฟูอีกด้วย
     
       ขณะนี้ได้มีพันธมิตรที่ให้ความสนใจในระบบ Thai Crisis แล้ว คือ Longdo Map, Thai Flood และ Flood Helps โดยจะนำข้อมูลไปผนวกรวมกับการบริการข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนและสังคมได้เข้าถึงข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น




ที่มา:http://www.manager.co.th
       

อนุทิน ครั้งที่2 (26.12.2554)



สรุปเนื้อหา
    กระบวนการจากข้อมูลไปสู่สารสนเทศ เริ่มจากข้อมูล (ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ ตัวเลข รูปแบบ ตัวอักษร และอื่นๆ) ผ่านการประมวลผล กลายเป็นสารสนเเทศ และส่งไปสู่ผุ้ใช้ เพิ่อนำไปสู่การตัดสินใจ การมีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น 
    MIS มีความสำคัญต่อการอาชีวศึกษา คือ การมีระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยให้การพัฒนาหลักสูตรหรือการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้นโดย และสารสนเทศยังช่วยให้การเรียนการสอนของครูอาจารย์ มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่นการวางแผนการเรียนการสอนหรือการทำสื่อการสอน นอกจากนี้ผู้ที่เรียนอาชีวศึกษาควรจะมีีความรู้เรื่องเกี่ยวกับ สารสนเทศด้วยเนื่องจากจะทำให้เป็นประโยชน์ในการเรียนและการทำงาน ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก ดังน้นในระบบการเรียนการสอนจึงต้องมีการเรียนรู้ ให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีและโลกปัจจุบัน
    ปัญหาของMIS ที่เกิดกับ สอศ. น่าจะเป็นเรื่องของจำนวนคนในระบบที่ค่อนข้างมาก และการจัดการยังไม่เป็นระบบที่เชื่อมโยงกับดีพอ การอัพเดตข้อมูลของแต่ละสถานศึกษาที่ไม่ได้เป็นปัจจุบันตลอด และค่าใช้จ่าในการทำระบบสารสนเทศก็มีราคาที่ค่อนข้างสูง
    กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ 


cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/079/.../original_mis151.ppt

    กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
http://www.kruketsarin.com/web/lession2/__9.html
     กล่าวโดยสรุป คือ สารสนเทศ จะต้องนำเสนอในรูปแบบที่ง่าย สามารถนำไปใช้ได้เลย และเป็นยอดสุดท้ายของกระบวนการทำงาน

แนวคิด/ข้อคิดที่ได้รับ
     การเรียนในวันนี้ทำให้ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับ ระบบสารสนเทศมากยิ่งขึ้น ได้รู้จักความแตกต่างระหว่างข้อมูง กับระบบสารสนเทศ ได้รู้เกี่ยวกับกระบวนการนำสารสนเทศไปใช้ การใช้ระบบสารสนเทสผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจ และผู้ทำจะต้องพยายามทำให้สามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุด สำหรับวันนี้ ขอบคุณค่ะ




ความหมายและคำจำกัดความของ MIS

ความหมาย
             1.รศ.ดร. อนุมงคล ศิริเวทิน และ ผศ.ดร. สมบูรณ์วัลย์ เหมศาสตร์
             คำจำกัดความอย่างกว้างขวางที่เป็น สาระ ที่สำคัญของ MIS คือ ระบบการประมวลข้อสนเทศ ( Information Processing ) หมายความถึง
             การนำข้อมูลมา ประมวลผล เพื่อให้ได้ ข้อสนเทศ โดยออกแบบชัดเจน ถึง แหล่งข้อมูล วิธีการ และ ระยะเวลา ที่จะนำข้อมูล มาดำเนินกระบวนการ เปลี่ยนสภาพ ข้อมูล เป็น ข้อสนเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการ ตัดสินใจ ในการบริหารงานขององค์กร อย่างทันการ

             2. ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย ( อาจารย์ประจำสาขาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ )
             ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องระหว่าง มนุษย์ กับ เทคโนโลยี ด้านข่าวสารข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ สารสนเทศ ที่เป็นประโยชน์ต่อ การปฏิบัติงาน การบริหาร การตัดสินใจ ภายในองค์กร

             3.วัชราภรณ์ อิสิชัยกุล ( อาจารย์ประจำภาควิชาบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย )
             คำว่า Management Information System หรือ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร นั้น ไม่มีคำจำกัดความที่แน่นอนตายตัว เราจึงจะเห็นได้ว่า มีผู้ให้คำจำกัดความของ MIS ไว้ต่าง ๆ กัน ดังเช่น Walter I Kennevan ได้ให้คำจำกัดความของ MIS ไว้ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป ดังนี้

             “an organized method of providing past, present, and projection information relating to internal operations and external intelligence. It supports the planning, control, and operational functions of an organization by furnishing uniform in the proper timeframe to assist the decision-making process”
             คำจำกัดความอื่น ๆ ของ MIS
                          3.1 The set of human and capital resources within the organization, which is responsible for the collection and processing of data to provide information that is useful to all level of management in planning and controlling the activities of the organization.

                          3.2 A MIS ( whether computer-based or manual ) as a communicative process in which data are accumulated, processed, stored, and transmitted to appropriate organizational personnel for the purpose of providing information on which to base management decisions. As such then, an information system consists of, at least, a person of a certain psychological type who aces a problem within same organizational context for which he need evidence to arrive at a solution, where the evidence is made available through some mode of presentation.

                          ( ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน / ดร. สมบูรณ์วัลย์ เหมศาสตร์ )
ที่มา: http://www.rta.mi.th/chukiat/story/MIS.htm

ประมวลความรู้
         MIS (Managmant Information System) หมายถึง การนำข้อมูลมาผ่านการประมวลผล เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการที่จะตัดสินใจในการจัดการ 



อนุทิน ครั้งที่1 (19.12.2554)


สรุปเนื้อหา
สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
 ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ
MIS
     ใน พรบ.การอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 มาตราที่10ข้อ7 ได้กล่าวโดยสรุปว่า"มีระบบพัฒนาครูและคณาจารย์ของการอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี" และใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 หมวด9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตราที่ 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านการผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
       กล่าวโดยสรุป "MIS (Managment Information System) หรือ สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อความสะดวกในการนำข้อมูลไปใช้ประกอบการบริหารเพื่อที่จะทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ระบบสารสนเทศอาจมีปัญหาได้เนื่องจาก ต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน ถ้าข้อมูลยังไม่เป็นสารสนเทศ ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจได้ และยังไม่มีข้อมูลสนองต่อความต้องการแต่ละหน่วยงานอย่างพอเพียง "
แนวคิด
     สารสนเทศเป็นสิ่งที่ทำให้การบริหารมีความสะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ การจัดทำระบบสารสนเทศจะต้องใช้ระยะเวลาในการทำ และต้องมีการอัพเดทข้อมูลใหม่อย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ระบบสารสนเทศในองค์กรการศึกษาเป็นสิ่งหนึ่งที่ใกล้ตัวและสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องของฝ่ายทะเบียน การเงิน หรือแม่แต่การลงทะเบียนเรียน ในปัจจุบัน สารสนเทศเป็นสิ่งที่เกือบทุกหน่วยงาน องค์กร บริษัท นำมาใช้ในการบริหารจัดการมากยื่งขึ้น เนื่องจากสารสนเทศทำให้ผู้บริหารสามารถเห็นข้อมูลได้ชัดเจน และรอบด้านมากขึ้นด้วย



อัตลักษณ์และเอกลักษณ์


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
     เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ กล่าวคือ
"มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มุ่งสร้างศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดีของชาติ "
     อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ กล่าวคือ
"สำนึกดี มุ่งมั่น สร้างสรรค์ สามัคคี "
  ที่มา:http://www.ku.ac.th/newdesign/content.php?id=13
คณะศึกษาศาสตร์
     เอกลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวคือ
"คณะศึกษาศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีจิตวิญญาณความเป็นครู เชี่ยวชาญการสอน  และการวิจัย "
     อัตลักษณ์ ของคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวคือ
" สำนึกดี          หมายถึง    มีความซื่อสัตย์ พอเพียงและมีวินัย
   มุ่งมั่น            หมายถึง    สู้งาน
   สร้างสรรค์     หมายถึง    ใฝ่รู้ พัฒนาวิชาชีพ
   สามัคคี         หมายถึง     ร่วมมือร่วมใจ "
  ที่มา: http://www.edu.ku.ac.th/index.asp