อนุทินครั้งที่10(12.0.2555)

อนุทินครั้งที่10
สรุปเนื้อหา
         ผู้ที่มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาระบบ (System Development ก็คือ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)  นักโปรแกรม (Programmer) และผู้ใช้ระบบ
นักวิเคราะห์ระบบ คือ ผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าของระบบ  ผู้ใช้ระบบ และผู้สร้างระบบ  เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร  

หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ  มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ
          1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)  เป็นการศึกษา วิเคราะห์ และแยกแยะถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขตามความต้องการของผู้ใช้งานและความเหมาะสมต่อสถานะทางการเงินขององค์กร โดยอาจจะนำเสนอระบบใหม่ หรือ แก้ไข ปรับปรุงระบบเก่าให้ทำงานได้ดีขึ้น
            2. การออกแบบระบบ (System Design) เป็นการออกแบบและกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิค โดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาที่ได้วิเคราะห์มา
แล้ว
ที่มา:www.scaat.in.th/New/new50/1_2550/sa_dss/SA2.doc
ข้อคิดเห็นและการนำไปใช้       การเรียนครั้งนี้เป็นการเรียนครั้งสุดท้ายก่อนที่จะสอบปลายภาค การเรียนวิชานี้ทำให้ได้ความรู็เรื่องเกี่ยวกับMIS และทำให้เข้าใจระบบการทำงานของระบบงานต่างๆว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และเนื่้อหาความรู้ก็ยังสามารถนำไปใช้กับวิชาอื่นๆได้ เป็นการต่อยอดความคิด
อาชีพที่จะหายไปในอนาคต
        อาชีพที่จะหายไปคืออาชีพคนขับรถสาธารณะ เนื่องจากความก้าวหน้าของโลกอนาคตนั้นจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเป็นการเพิ่มความปลอดภัยส่วยเรื่องระบบการเก็บเงินก็จะเป็นการจ่ายก่อนที่จะเข้าไปนั่ง และถ้าใช้คนขับเป็นหุ่นยนต์ก็จะเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการด้วยเนื่องจาก สามารถตั้งระบบให้ใช้ความเร็วเท่าไรมีการรอให้คนลงให้ปลอดภัยก่อนและค่อยออกรถ
อาชีพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
        อาชีพท่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ อาชีพผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่เป็นของระบบต่างๆโดยเฉพาะเนื่องจากในอนาคตคนเราจะเข้าไปอยู่กันบนโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น อาจเรียกได้ว่าทำทุกอย่างผ่านเทคโนโลยี ดังนั้นจึงต้องมีผู้ดูแลระบบเข้ามาช่วยทำหน้าที่ป้องกันหรือตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอว่ามีอะไรจะเข้ามาขโมงขอ้มูลหรือไม่เพราะข้อมูลเป็ฯสิ่งที่สำคัญมาก

ซิงโครนัส และ อะซิงโคนัส


การสื่อสารแบบอะซิงโคนัส (Asynchronous Transmission)
     การสื่อสารแบบอะซิงโคนัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น การสื่อสารแบบระบุจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด (Start-Stop Transmission) ลักษณะของสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันจะประกอบไปด้วย บิตเริ่มต้น (start bit) บิตของข้อมูลที่สื่อสาร (transmission data) จำนวน 8 บิต บิตตรวจข้อผิดพลาด(parity bit) และบิตสิ้นสุด (stop bit) สำหรับบิตตรวจสอบข้อผิดพลาดจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ ดังนั้นสัญญาณจึงต้องประกอบด้วยส่วนประกอบอย่างน้อย 3 ส่วน ดังรูป

รูปที่ 6 การสื่อสารแบบอะซิงโคนัสที่ไม่ได้ใช้พารีตี้บิต


รูปที่ 7 การสื่อสารแบบอะซิงโคนัสที่ใช้พารีตี้บิต
     จากรูปจะเห็นว่าขณะที่ไม่มีข้อมูลส่งออกมาสถานะของการส่งจะเป็นแบบว่าง (Idle) ซึ่งจะมีระดับของสัญญาณเป็น 1 ตลอดเวลา เพื่อความแน่ใจว่าปลายทาง หรือฝ่ายรับยังคงติดต่อกับต้นทาง หรือฝ่ายส่งอยู่ เมื่อเริ่มจะส่งข้อมูลสัญญาณของอะซิงโคนัสจะเป็น 0 หนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกา ซึ่งบิตนี้เราเรียกว่าบิตเริ่มต้น ตามหลังของบิตเริ่มต้นจะเป็นบิตข้อมูลสำหรับ 1 ตัวอักษร ตามหลังบิตข้อมูลก็จะเป็นบิตตรวจข้อผิดพลาด แล้วจะตามด้วยบิตสิ้นสุด ถ้าไม่ใช่บิตตรวจข้อผิดพลาด ตามหลังบิตข้อมูลก็จะเป็นบิตสิ้นสุดเลย หลังจากนั้นถ้าไม่มีข้อมูลส่งออกมาสัญญาณจะกลับไปอยู่ที่สถานะแบบว่างอีก เพื่อรอการส่งข้อมูลต่อไป
   จะเห็นว่าการสื่อสารแบบอะซิงโคนัสนี้ มีลักษณะเป็นไปทีละตัวอักษร และสัญญาณที่ส่งออกมา มีบางส่วนเป็นบิตเริ่มต้น บิตสิ้นสุด และบิตตรวจข้อผิดพลาด ทำให้ความเร็วในการส่งข้อมูลต่อวินาทีน้อยลงไป เนื่องจากต้อง สูญเสียช่องทางการสื่อสารให้กับ บิตเริ่มต้น บิตสิ้นสุด และบิตตรวจข้อผิดพลาด (ถ้ามีใช้) ตลอดเวลา การสื่อสาร แบบอะซิงโคนัสนี้มักใช้ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์รอบข้าง



การสื่อสารแบบซิงโคนัส (Synchronous Transmission)
        การสื่อสารแบบซิงโคนัส จะทำการจัดกลุ่มของข้อมูลเป็นกลุ่มๆ และทำการส่งข้อมูลทั้งกลุ่มไปพร้อมกันในทีเดียว เราเรียกกลุ่มของข้อมูลนี้ว่า บล็อกของข้อมูล (Block of Data) ซึ่งตัวอักษรตัวแรก และตัวถัดไปที่อยู่ในบล็อกเดียวกันจะไม่มีอะไรมาคั่นเหมือนอย่างแบบอะซิงโคนัส ที่ต้องใช้บิตเริ่มต้น และบิตสิ้นสุดคั่นทุกๆ ตัวอักษร แต่จะมีข้อมูลเริ่มต้นซึ่งเป็นลักษณะของบิตพิเศษที่ส่งมาเพื่อให้รู้ว่านั้นคือ จุดเริ่มต้นของกลุ่มตัวอักษรที่กำลังส่งเรียงกันเข้ามา เช่น อักขระซิง (SYN character) โดยที่อักขระซิงมีรูปแบบบิต คือ 00010110 ตัวอย่างของการส่งแสดงได้ดังรูป

   จากรูปเมื่อลายทางตรวจพบอักขระซิง หรือ 00010110 แล้วจะทราบได้ทันทีว่าบิตที่ตามมาคือบิตตัวอักษรแต่ละตัว แต่การใช้อักขระซิงเพียงตัวเดียวอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น ถ้าเราส่งตัวอักษร b และตัวอักษร a ติดต่อกันไป ซึ่งตัวอักษร b มีรูปแบบบิตคือ 01100010 และตัวอักษร a มีรูปแบบบิตคือ 01100001 การส่งจะแสดงได้ดังรูป


     จะเห็นว่าเครื่องปลายทางจะตรวจพบอักขระซิงระหว่างบิตของตัวอักษร b และตัวอักษร a ทำให้เข้าใจว่าบิตต่อไปจะเป็นบิตของกลุ่มข้อมูล ซึ่งจะทำให้การรับข้อมูลนั้นเกิดผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้อักขระซิง 2 ตัวต่อกันเป็นลักษณะของบิตพิเศษที่บอกให้ทราบว่าเป็นจุดเริ่มต้นบิตของกลุ่มข้อมูล ตัวอย่างของการใช้อักขระซิง 2 ตัวในการสื่อสารแบบซิงโคนัส และการตัดแถวของบิตข้อมูลออกเป็นกลุ่มทีละ 8 บิต เพื่อแทนข้อมูลแสดงได้ดังรูป

   รูปที่ 8 ตัวอย่างการใช้อักขระซิง 2 ตัวในการสื่อสารแบบซิงโคนัส
รูปที่ 9 แสดงการตัดแถวของบิตออกเป็นกลุ่มๆ ละ 8 บิต
 

การสื่อสารแบบซิงโคนัสนี้มักใช้ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์
ประสิทธิภาพของการส่งผ่านข้อมูลแบบอะซิงโคนัส และแบบซิงโคนัส

รูปที่ 10 การส่งผ่านข้อมูลแบบซิงโคนัส
 
รูปที่ 11 การส่งผ่านข้อมูลแบบอะซิงโคนัส

    จากรูปที่ 10 แสดงให้เห็นว่าการส่งผ่านข้อมูลแบบซิงโคนัสนั้นส่วนมากแล้ว ตลอดทางของสายส่งจะใช้ส่งผ่านข้อมูลเต็มตลอดทั้งสาย ส่วนรูปที่ 11 แสดงให้เห็นว่าการส่งผ่านข้อมูลแบบอะซิงโคนัสนั้นสายส่งจะขาดความต่อเนื่องของสัญญาณข้อมูลที่ส่งผ่าน หรือถ้ามีสัญญาณข้อมูลที่ส่งผ่านต่อเนื่องกันเต็มตลอดทั้งสายแล้ว ก็จะสูญเสียช่องทางในการส่งไปกับการส่งบิตเริ่มต้น และบิตสิ้นสุดของแต่ละตัวอักษร
   ตัวอย่างเช่น กรณีที่ส่งผ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปของรหัส ASCII ซึ่งตัวอักษรหนึ่งตัวถูกแทนด้วย 8 บิต ถ้ามีการส่งกลุ่มของข้อมูล 240 ตัวอักษร ในกรณีการส่งผ่านข้อมูลแบบซิงโคนัสมีการใช้ตัวอักขระซิง 3 ตัว และการส่งผ่าน ข้อมูลแบบอะซิงโคนัสไม่มีการใช้บิตตรวจข้อผิดพลาด ดังนั้นเราสามารถคำนวณหาอัตราส่วนระหว่างการส่งข้อมูลได้ ดังนี้
บิตทั้งหมดของตัวอักษรที่ส่งจะได้
240 ตัวอักษร x 8 บิต/ตัวอักษร = 1920 บิต
แบบซิงโคนัส
บิตของตัวอักขระซิงที่ใช้จะได้ SYN 3 ตัว เท่ากับ 3 x 8 บิต = 24 บิต
ผลรวมของบิตที่ต้องส่งทั้งหมด = 1920 + 24 = 1944 บิต
อัตราส่วนระหว่างการส่งข้อมูลที่ต้องส่งจริง กับจำนวนบิตทั้งหมดที่จำเป็นต้องส่งคือ
1920 หารด้วย 1944 จะได้ประมาณ 99 %
แบบอะซิงโคนัส
บิตเริ่มต้น และบิตสิ้นสุดที่ใช้จะได้ 2 x 240 = 480 บิต
ผลรวมของบิตที่ต้องส่งทั้งหมด = 1920 + 480 = 2400 บิต
อัตราส่วนระหว่างการส่งข้อมูลที่ต้องส่งจริง กับจำนวนบิตทั้งหมดที่จำเป็นต้องส่งคือ
1920 หารด้วย 2400 จะได้ประมาณ 80 %
   ที่มา: http://irrigation.rid.go.th
ขอขอบคุณไว้นะโอกาสนี้    ...

อนุทินครั้งที่9(05.03.2555)

         สรุปเนื้อหา
   สวัสดีค่ะ ครั้งนี้เป็นการเรียนในเรื่องเกี่ยวกับ การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่าย เรื่องที่เรียนในครั้งนี้กล่าวคือ ข้อเสนอการปฎิรูปการศีกษาในการพัฒนาICT เนื่องจากสนับสนุนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนผลิตสื่อการเรียนการสอน หนังสือ ตำราเรียน รวมทั้งบทเรียนและเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและสนับสนุนให้มีระบบทดสอบผู้เรียนและเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประโยชน์ของ e-commerce กล่าวโดยรวมคือการเพิ่มโอกาสให้ทำผู้ซื้อและผู้ขาย นอกจากนี้ระบบนี้นังเป็นการตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันมากขึ้นด้วย เนื่องจากปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักต้องใช้เวลาในการเดินทางและทำงาน ทำให้ระบบนีัเข้ามามีบทบาทในการลดปัญหาต่างๆได้ แต่ในระบบนี้ปัจจุบันผู้ใช้ก็ต้องมีการระมัดระวังกันหน่อยเนื่องจาก ยังมีปัญหาบางประการเช่น การได้ของไม่ตรงตามที่ตองการ ของเกิดการชำรุดเสีหายขณะจัดส่ง เป็นต้น องค์ประกอบพื้นฐานการสื่อสาร จะประกอบด้วยสามส่วนคือ หน่วยส่งข้อมูล ช่องทางการสื่อสาร และหน่วยรับข้อมูล
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาณข้อมูล สัญญาณอิเลกทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณแอนะล็อก และสัญญาณดิจิตอล โดยสัญญาณแอนะล็อกนั้นจะมีลักษณะต่อเนื่องกัน และการขึ้นลงของคลื่นนั้นมีความหมาย แต่สัญญาณแอนะล็อกนั้นจะสามารถถูกรบกวนได้ง่ายเนื่องจากค่าทุกค่าจะถูกนำมาใช้งาน และสัญญาณแบบดิจิตอลนั้นมีการทำงานสัญญาณ 2 ระดับมาประกอบบกัน คือระดับสูงสุดและระดับต่ำสุด รูปแบบการส่งผ่านข้อมูล ทีสองแบบคือ แบบขนานและแบบอนุกรม
     
       ประโยชน์และการนำไปใช้
      การเรียนทำให้ได้รู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการสื่อสาร และองค์ประกอบพื้นเกี่ยวกับสัญญาณข้อมูลและ เมื่อต้องใช้ในอนาคต ก็จะได้สามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเพื่อที่ประสิทธิภาพของงาน หรือระบบข้อมูลนั้นๆจะได้มีการทำงานที่เหมาะสม และไม่สิ้นเปลืองทรัพยกรโดยไม่ใช้เหตุ สำหรับการเรียนในครั้งนี้
ขอบคุณค่ะ

อนุทินครั้งที่8(27.02.2555)

        
            สรุปเนื้อหา
               สวัสดีค่ะวันนี้เรียน เรื่อง ข้อมูล ฐานข้อมูล และการจัดการข้อมูล ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น
ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
1.       สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
2.       หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้
3.       สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
4.       สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
5.       สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้
6.       สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้
7.       เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล

การออกแบบฐานข้อมูล 
การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS) ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท
1. รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น หรือโครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model) วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)
2. รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data Model) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง สำหรับตัวอย่างฐานข้อมูลแบบเครือข่ายให้ลองพิจารณาการจัดการข้อมูลของห้องสมุด ซึ่งรายการจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ที่อยู่ ประเภท
3. รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model) เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว (Row) ของตารางจะแทนเรคอร์ด (Record) ส่วน ข้อมูลนแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ (Column) ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล (Field) โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่นระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ

การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล
รหัสแทนข้อมูล
ระบบคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่ใช้สัญญาณทางไฟฟ้าในการทำงาน ทำให้มีสองสถานะคือเปิด (ON) และปิด (OFF) จึงต้องหาวิธีในการแทนที่สองสถานะนี้ นั่นคือการใช้เลขฐานสอง (Binary Number System) ซึ่งประกอบจากเลข 0 และ 1 แทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ หากพิจารณาเลขฐานสองเพียงหนึ่งหลัก จะเห็นว่าสามารถแทนข้อมูลได้เพียงสองชนิดเท่านั้นคือ 0 และ 1 ในขณะที่เลขฐานสองสองหลักจะสามารถแทนข้อมูลได้ 4 ชนิดคือ 00 , 01 , 10 และ 11 ดังนั้นหากต้องการใช้เลขฐานสองในการแทนข้อมูลจำนวนมาก เช่น นำมาแทนตัวอักษรต่าง ๆ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะต้องใช้เลขฐานสองจำนวนหลายหลัก
ระบบไฟล์ข้อมูล 
หน่วยเก็บข้อมูลสำรองของคอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลในรูปของตัวเลขฐานสอง ซึ่งจะประกอบกันเป็นแฟ้มข้อมูลหรือ ไฟล์ (File) โดยที่ไม่ว่าจะใช้สื่อเก็บข้อมูลชนิดใดก็ตาม ทุกอย่างที่เก็บอยู่ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองต้องอยู่ในรูปของไฟล์ ไฟล์ก็คือบริเวณใดบริเวณหนึ่งบนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ถูกกำหนดให้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง
ไฟล์สามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด การอ้างถึงไฟล์ต่าง ๆ สามารถอ้างด้วยชื่อของไฟล์นั้น ไฟล์หลาย ๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บไว้รวมกันอยู่ในไดเรกทอรี่ (Directory) หรือ โฟลเดอร์ (folder) ซึ่งเปรียบเสมือนตู้เอกสารที่เก็บเอกสารหลาย ๆ แฟ้มไว้ด้วยกัน และในหน่วยเก็บข้อมูลหนึ่ง ๆ อาจมีหลาย ๆ ไดเรกทอรี่ใด ซึ่งนิยมพิจารณาจากข้อมูลที่เก็บอยู่ในไฟล์เหล่านั้น โดยหากข้อมูลในไฟล์มีความสัมพันธ์กันก็จะจัดให้อยู่ในไดเรกเทอรี่เดียวกัน หากข้อมูลต่างประเภทกันก็ควรพิจารณาจัดไว้ในไดเรกทอรี่อื่น
ระบบฐานข้อมูล 
จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบจัดการข้อมูลแบบไฟล์ ทำให้เกิดแนวความคิดที่จะสร้างระบบการจัดการข้อมูลแบบใหม่ ซึ่งสามารถทำการจัดการ ดูแลรักษา ตรลดจนเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะทำให้งานการสร้างและใช้งานข้อมูลกระทำได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง

ระบบจัดการฐานข้อมูล 
ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือที่นิยมเรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) คือชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่สร้าง ดูแลรักษา และใช้งานส่วนต่าง ๆ ของฐานข้อมูล 

      การนำไปใช้ประโยชน์
       ทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำได้คือการที่นำหลักการการจัดการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและ สะดวกในการค้นหา การจัดสรรข้อมูลก็จะลดความซ้ำซ้อน และไม่เปลื้องพื้นที่ในการจัดเก็บ สำหรับวันนี้ขอบคุณค่ะ


อนุทินครั้งที่7(13.02.55)

ความรู้ที่ได้รับ
     สวัสดีค่ะ ครั้งนี้เป็นการเรียนเรื่องเกี่ยวกับซอฟแวร์ โดยเนื้อหาของการเรียนเรื่องนี้จะเป็นการพูดถึงโปรแกรมที่เราใช้และรู้จักโดยส่วนใหญ่และบางโปรแกรมอาจารย์ก็จะช่วยแนะนำให้
โปรแกรมในชุดไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ
ไมโครซอฟท์ เวิร์ด เป็นโปรแกรมที่นิยมในการประมวลผลคำ มีความสามารถในการจัดรูปแบบตัวอักษร ย่อหน้า ใส่รูปภาพ จดหมายเวียน และอื่นๆ อีกมากมาย
ไมโครซอฟท์ เอ็กเซล เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดทำตารางงาน มีความสามารถในการคำนวณสูตรต่างๆ พร้อมทั้งฟังก์ชันที่ช่วยในการคำนวณทางคณิตศาสตร์อีกด้วย
ไมโครซอฟท์ แอคเซส เป็นโปรแกรมฐานข้อมูล ที่เป็นที่นิยมสำหรับการทำงานในระดับสำนักงาน และ องค์กรขนาดเล็ก สามารถเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ออกแบบฟอร์มเก็บข้อมูล พิมพ์รายงาน จัดทำเว็บไซต์ในการรับ/ส่ง ข้อมูล และยังสามารถเขียนกลุ่มโปรแกรม (Module) เพื่อใช้ในการทำงานได้
ไมโครซอฟท์ ฟรอนต์เพจ เป็นโปรแกรมออกแบบเว็บเพจ ซึ่งมีความสามารถในการจัดการเว็บไซต์ ออกแบบโครงสร้างเว็บเพจ และติดต่อฐานข้อมูล ไมโครซอฟท์ แอคเซส
ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์ เป็นโปรแกรมนำเสนอผลงาน สามารถนำเสนอผลงานในแบบต่างๆ รวมถึงมีแม่แบบที่ช่วยผู้ใช้ใช้งานอย่างงายดาย และมีแอฟเฟ็คแบบต่างๆ ช่วยตกแต่งให้งานนำเสนอมีความสวยงาม
ไมโครซอฟท์ เอาท์ลุค เป็นโปรแกรมรับ/ส่งอีเมล มีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องแม่ข่ายอีเมล แบบ IMAP, POP3 และ Microsoft Exchange Server
เป็นโปรแกรมคล้าย ไมโครซอฟท์ เวิร์ด เช่นกัน แต่จะเน้นไปทางด้านการสร้างศิลป์บนสิ่งพิมพ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่า เช่น นามบัตร
ไมโครซอฟท์ วิซิโอ เป็นโปรแกรมที่ใช้ออกแบบแผนผัง แผนที่ต่างๆ

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki

ประโยชน์และการนำไปใช้
          ความรู้ที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้ทำให้เราได้รู้จักโปรแกรมต่างๆมากยิ่งชึ้น และมีการเลือกใช้โปรแกรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมได้รู้ว่าบ้างโปรแกรมมีหน้าที่การทำงานคล้ายกันทำให้สามารถมีการเสือกใช้โปรแกรมในการทำงานมากยิ่งขี้น สำหรับการเรียนในครั้งนี้ขอบคุณค่ะ

สกุลไฟล์ภาพและเสียง


สกุลไฟล์รูปภาพมีอะไรบ้าง อะไรขนาดใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุด?

BMP
เป็นพื้นฐานของรูปบิตแมปของซอฟต์แวร์บนวินโดวส์ ดังนั้น มันจึง สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมทุก ๆ โปรแกรมที่ทำงานภายใต้วินโดวส์ แต่ว่าไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับแพลตฟอร์มอื่น ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้กับแพลตฟอร์มอื่น เช่นแมคอินทอช หรือระบบอื่นๆ ได้ไฟล์แบบบิตแมปบนวินโดวส์คล้ายๆ กับของพรีเซนเตชันเมเนเจอร์ของโอเอส/ทู แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวนัก

EPS

เป็นรูปแบบที่ใช้กับงานประเภท Desktop Publishing หรืองานเกี่ยวกับการจัดหน้า เช่น PageMaker โดยใช้กับเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น ไฟล์ EPS นี้เมื่อนำมาย่อ-ขยาย จะไม่ทำให้ภาพสูญเสียความคมชัด เนื่องจากมีความละเอียดสูง
GIF

เป็นรูปแบบที่นิยมกันมากที่สุดในปัจจุบัน ปัจจุบัน GIF ไฟล์มีสองเวอร์ชันด้วยกันคือ 87a และ 89a โดยที่เวอร์ชัน 87a เป็นรูปกราฟิก เพียงอย่างเดียว ขณะที่เวอร์ชัน 89a สามารถสนับสนุนการทำภาพเคลื่อนไหวได้ โดยการนำภาพหลายๆ ภาพมาเรียงต่อกันและ บรรจุอยู่ในไฟล์เดียวกัน จุดดีของ Gif คือ Interlaced ซึ่งเมื่อกราฟิกถูกโหลด จะแสดงภาพจากหยาบไปหาละเอียด ในขณะที่กราฟิกถูกโหลดมาทีละน้อยจนเสร็จสมบูรณ์ จึงทำให้ผู้ชมที่มี bandwidth ต่ำๆ สามารถเห็นภาพโดยรวมได้ก่อนที่ภาพจะ ถูกโหลดจนสมบูรณ์ จุดด้อยของ Gif คือ มันเป็นลิขสิทธิของบริษัท Compuserv กล่าวคือ บริษัทผู้ผลิต ซอร์ฟแวร์ จะใช้ได้จะต้องขออนุญาติและจ่ายค่าลิขสิทธิเพื่อใช้ Gif จึงทำให้มีผู้พัฒนาไฟล์รูปแบบ PNG ขึ้นใช้แทน

IFF

IFF (Amiga Interchange File Format)จะนำมาใช้กับงานวิดีโอและการถ่ายข้อมูลจาก Commodore Amiga system ยิ่งไปกว่านี้ยังสนับสนุนโปรแกรมตกแต่งภาพที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไป ด้วย

IMG

Windows, Mac โปรแกรม Desktop Publishing และโปรแกรมแก้ไขรูปภาพบางโปรแกรม เช่น Ventura Publisher, PageMaker, QuarkXPress 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี แบบ RLE อย่างง่าย

JPG

JPEG เป็นไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้ในภาพประเภทภาพถ่าย (โทนสีต่อเนื่อง) เนื่องจากใช้สีทั้งสเปกตรัมสีที่มีในมอนิเตอร์ และเป็นไฟล์ประเภทที่ถูกบีบอัดให้เล็กลงเพื่อให้โหลดเร็วขึ้นเช่นเดียวกับ GIF โดยการตัดค่าสี ในช่วงที่ตามองไม่เห็นทิ้งไป แต่เมื่อบันทึกไฟล์เป็น JPEG แล้ว ข้อมูลสีที่ถูกตัดทิ้งไปจะไม่สามารถเรียกกลับมาได้อีก ถ้าต้องการใช้ค่าสีเหล่านั้นในอนาคต ควรจะบันทึกเป็นไฟล์ชนิดอื่น แล้วเปลี่ยนเป็นไฟล์ JPEG ด้วยการบันทึกเป็นไฟล์ก็อปปี้ ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมการแก้ไขภาพ Bitmap และโปรแกรมการแปลงรูปแบบ เช่น PhotoShop, CorelDRAW, PaintShop Pro, ACDSee 32 ความสามารถทางด้านสี 2, 16, 256 สี หรือ 16 ล้านสี และความลึกสีแบบ 32 บิต จุดดีของ JPG นอกจากความสามารถในการบีบอัดไฟล์แล้ว JPG มีคุณสมบัติของ Progress JPEG คือ เมื่อถูกโหลด จะแสดงภาพจากหยาบไปสู่ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กราฟิกถูกโหลดมาเรื่อยๆ จนเสร็จสมบูรณ์ (ลักษณะคล้ายกับ Interlaced GIF) 

PCX

PCX เป็นรูปแบบไฟล์บิตแมปดั้งเดิมของโปรแกรมแก้ไขภาพบิตแมปชื่อ PC Paintbrush จาก Z-Soft ซึ่งมีให้ใช้บนพีซีมานานแล้วรูปแบบ PCX เป็นรูปแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับภาพบิตแมป โดยโปรแกรมกราฟิกส่วนใหญ่จะสนับสนุนรูปแบบ PCX 

PGL

PGL โปรแกรม CAD, โปรแกรมแก้ไขไฟล์ Vector บางโปรแกรมและ Desktop Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW

PIC

PICT (.pic) เป็นรูปแบบมาตราฐานในการบันทึกภาพแบบ 32 บิตของ Macintosh แสดงผลสีได้ระดับ 16.7 ล้านสี สามารถบีบอัดข้อมูลภาพได้เช่นกัน เพียงแต่สนับสนุนโหมด RGB

PNG

ถูกออกแบบมาเพิ่มเติมคุณสมบัติที่ไม่มีของ GIF format และยังมีรายละเอียดใกล้เคียง TIFF format แต่มีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่า

TGA

TGA (Targa)เป็นรูปแบบซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้ Truevision video board และโปรแกรมทั่วๆไปสนับสนุนภาพทุกชนิด

TIF

TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้ 
TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File Format นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต , Grayscale (4,8, 16 บิต) , แผงสี (ได้ถึง 16 บิต) , สี RGB ( ได้ถึง 48 บิต) , สี CMYK ( ได้ถึง 32 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ

WMF

WMF ไฟล์ WMF นี้มีข้อเสียคือ ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการเก็บภาพ แสดงภาพได้ไม่ถูกต้อง แต่สามารถใช้ได้ทั้งกับโปรแกรมแบบเวกเตอร์และแบบบิตแมป


สกุลไฟล์เสียงมีอะไรบ้าง
ที่มา : http://idesignschool.blogspot.com/2010/03/format.html
ไฟล์เสียงประเภทต่างๆที่ใช้กันในปัจจุบัน
ไฟร์ดนตรีที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับงานที่ต่างกัน ไฟล์รูปแบบหลักๆที่ใช้กับพีซี ได้แก่ Wave, CD Audio, MP3, WMA, RA ซึ่งทั้งหมดนี้ขอเรียกรวมกันว่าเป็นไฟล์รูปแบบคลื่นเสียง (waveform) ส่วนไฟล์ดนตรีอีกประเภทหนึ่งก็คือไฟล์ MIDI เรามาดูรายละเอียดของไฟล์ดนตรีแต่ละประเภทกันว่ามีลักษณะอย่างไร
Wave
ไฟล์ Wave (เวฟ) ที่มีนามสกุล .wav เป็นไฟล์ข้อมูลคลื่นเสียงที่บันทึกจากเสียงอนาล็อกเป็นรูปแบบดิจิตอล เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ คล้ายกับการบันทึกเทปแต่เป็นการบันทึกไว้ในดิสก์ของคอมพิวเตอร์แทน Wave เป็นรูปแบบไพล์พื้นฐานของระบบพีซี มีขนาดไฟล์ใหญ่ สามารถกำหนดคุณภาพเสียงได้หลากหลาย เช่น เสียงโมโนหรือสเตอริโอ มีระดับความละเอียดน้อยมาก
CD Audio
เป็นแทร็กเสียงดิจิตอลที่รูปแบบเหมือนกับไฟล์ Wave บรรจุไว้ในแผ่นซีดีเพลงด้วยรูปแบบพิเศษเฉพาะ ถ้าใส่แผ่นซีดีเพลงเข้าไปในไดรฟ์ซีดีรอมแล้วเปิด My Computer คุณจะเห็นชื่อไฟล์ในแผ่นซีดีมีนามสกุลเป็น . cda เช่นไฟล์ trac1.cda ซึ่งมันไม่ใช่ไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่าง Wave หรือ MP3 คุณจึงไม่สามารถก๊อบปี้แทร็ก CD Audio เก็บไว้ในฮาร์ดิสก์ได้
MP3
MP3 (นามสกุล .mp3) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานจากไฟล์ Wave แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 8-10 เท่า เนื่องจากข้อมูลในไฟล์ถูกบับอัดให้เล็กลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ใกล้เคียงต้นฉบับ ไฟล์ MP3 ได้รับความนิยมมากสำหรับการบันทึกเพลง ไฟล์ประเภทนี้ความยาว 4 นาที มีขนาดประมาณ 5MB สามารถก๊อบปี้เก็บไว้ในฮารด์ดิสก์ได้เหมือนไฟล์ข้อมูลข้อมูลปกติทั่วไป แต่การสร้างและการแก้ไขไฟล์ค่อนข้างซับซ้อน ก่อนที่จะสร้างไฟล์ MP3 ได้ คุณต้องใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงจากภายนอกให้เป็นไฟล์ Wave แล้ว จากนั้นจึงเข้ารหัสบีบอัดให้กลายเป็น MP3 หรือต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่สามารถบันทึกและเข้ารหัส MP3 ในทันทีได้
WMA
WMA (Windows Media Audio) เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลรูปแบบใหม่กว่า MP3 มีการบีบอัดดีกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า MP3 คุณสมบัติทั่วไปเหมือนกับ MP3
RA
RA (Real Audio) เป็นไฟล์เสียงสำหรับใช้กับโปรแกรม Real Player โดยเฉพาะ มีพื้นฐานมาจากไฟล์ Wave แต่ถูกบีบอัดให้เล็กลงด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ เพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลเสียงทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก
MIDI
MIDI (Musical Instrument Digital Interface) (อ่านว่า มิดี้”) ที่มีนามสกุล .mid เป็นไฟล์ข้อมูลดนตรีที่ถูกบันทึกหรือโปรแกรมเอาไว้ เช่น เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ตัวโน๊ต ความเร็วจังหวะ ฯลฯ สำหรับนำไปใช้กับอุปกรณ์ดนตรี เช่น ซาวนด์การ์ด หรือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เมื่อข้อมูลถูกส่งจากคอมพิวเตอร์เข้าสู่อุปกรณ์ดนตรีจะทำให้ อุปกรณ์ดนตรีจะเล่นดนตรีตามข้อมูลในไฟล์ เหมือนกับคนอื่นมาเล่นดนตรีให้คุณฟังในวงการดนตรี MIDI คือลักษณะการต่อเชื่อมเครื่องดนตรีแบบดิจิตอล ใช้อ้างถึงความสามารถในการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีผ่านทางพอร์ต MIDI (ช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณ) โดยเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปให้อีกเครื่องหนึ่ง เพื่อสั่งให้ทำงานหรือส่งเสียงตามที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น คุณเชื่อมต่อกีตาร์ไฟฟ้ากับคีย์บอร์ดเข้าด้วยกัน เมื่อคุณดีดกีต้าร์สมมุติว่าเป็นโน๊ตเสียงโด คีย์บอร์ดก็จะส่งเสียงโด ออกมาพร้อมกันทันที เหมือนกับมีอีกคนมาช่วยเล่นคีย์บอร์ดให้คุณ

ที่มา : http://www.mxboardza.co.cc/index.php?showtopic=415